ประวัติ ซุนวู

Posted by dddasd On วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2555 2 ความคิดเห็น

ประวัติ ซุนวู

ซุนวู (ซุนอู่) เป็นผู้เขียนตำราพิชัยสงคราม ที่นับว่าเป็นตำรายุทธศาสตร์ทางทหาร ที่มีอิทธิพลมากของประเทศจีน และปัจจุบันยุทธศาสตร์ในตำราได้ถูกประยุกต์ใช้อย่างกว้างขวางในวงการธุรกิจและการเมือง หลักการที่สำคัญเช่น รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง คาดว่าซุนวูมีชีวิตอยู่ในช่วงศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาล ตำราพิชัยยุทธของซุนวู ได้มีการกล่าวถึงหลายคราในนิยายเรื่อง สามก๊ก ประวัติของซุนวู คือ ในช่วง 2 ศตวรรษก่อนคริสตกาล โดยนักเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ซือหม่าเฉียน (SimaQjan)ซือหม่าเฉียนได้บรรยายถึงซุนวูว่า เป็นแม่ทัพที่อาศัยอยู่ในรัฐวู ในช่วงประมาณ 600 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งอยู่ในยุคเดียวกันกับนักปรัชญาจีนผู้ยิ่งใหญ่ ขงจื้อ อย่างไรก็ตาม ประวัตินี้ขัดแย้งกับหลักฐานอื่น ๆ ของยุคนั้น รวมทั้งลักษณะการเขียน และเนื้อหาของตำราพิชัยสงคราม ก็บ่งชี้ว่าไม่น่านจะเป็นงานที่เขี้ยนขึ้นในช่วง 400-320 ปีก่อนคริสตกาล งานเขียน ตำราพิชัยสงคราม ของซุนวูนี้ ได้ทิ้งเบาะแสเป็นนัย ๆ ถึงชีวิตของซุนวู เช่น รถม้าใช้ในการสงคราม ที่อธิบายโดยซุนวูนั้น มีการใช้เพียงแค่เป็นช่วงเวลาสั้น ๆ ในช่วงยุค 400 ก่อนคริสตกาล ดังนั้นจึงถือว่าบางส่วนของงานเขียนนี้ก็อยู่ในช่วงเวลานั้น นอกจาก"สามก๊ก"แล้ว "ตำราพิชัยสงครามซุนวู" อาจจะเป็นหนังสือที่มีคนแปลมากอีกเล่ม ผมไม่รู้แน่ว่ามี่กี่เวอร์ชั่น แต่รู้ว่ามีทั้งหนังสือ มีทั้งการ์ตูนและมีทั้งหนัง-ซีดี การมีหลายเวอร์ชั่นหลากรูปแบบ ผมจึงเชื่อว่า นี่เป็น"หนังสือดี" และ"มีคุณค่า"มากๆ ผมเขียนถึงหนังสือเล่มนี้ขณะอ่านฉบับที่แปลและเรียบเรียงโดย บุญศักดิ์ แสงระวี เพราะต้องการ"รู้จักตัวเอง" ในสถานการณ์ที่"ทุกอย่าง"เข้าสู่ช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ.. เรื่องเศรษฐกิจ ต้องรู้จักตัวเองในยุคน้ำมันกำลังพุ่งแตะบาร์เรลละ 100 เหรียญ เรื่องการเมือง ต้องรู้จักตัวเองขณะกำลังจะมีการเลือกตั้ง เรื่องเหล่านี้ ลองพิจารณาหนังสือเล่มนี้...แม้จะต้อง"ตั้งรับ" แต่ผมเชื่อว่าจะตั้งรับแบบ"รุก"ไปด้วยโดยไม่เสียเปรียบ แค่ประโยคแรกๆของ"กลยุทธ์ซุนวู" คือ “รู้เขารู้เรา สู้ร้อยครั้งชนะร้อยครา” ก็เป็นคำสอนที่มีค่ามากๆ นี่คือเหตุผลที่ผมเชื่อว่า หนังสือหรือตำราเล่มนี้ มีคุณค่าสำหรับการอ่าน เพราะการดำรงชีวิตอย่างมีความสุขนั้น สิ่งแรกสุดคือต้อง"รู้เรา" เหมือนคนเงินเดือนหมื่น ไม่รู้จักตัวเอง แล้วจะใช้ชีวิตแบบคนเงินเดือนแสน ...อย่างนี้รบครั้งเดียวก็แพ้...ราบคาบ ผมจึงเชื่อว่าหนังสือเล่มนี้ ไม่ได้มีคุณค่าในเรื่องการทำ"สงครามธุรกิจ" หากแต่ยังมีคุณค่าในการทำ"สงครามชีวิต" เพื่อความอยู่รอดและเป็นสุข..ในบั้นปลาย รบร้อยชนะร้อย ถือว่าสุดยอด...แต่"ที่สุด"อย่าลืมว่านั่นคือ"ชนะโดยไม่ต้องรบ" กลยุทธ์ของซุนวู...มีมากถึง 36 ข้อ จึงแทบจะเป็นไปไม่ได้(เลย)ที่จะนำมาใช้ได้ทั้งหมด แต่ผมก็ยังยืนยันว่า หากสามารถปรับเปลี่ยนได้ ก็มีคุณค่ามากๆ ขณะเดียวกัน เนื่องจากมี(มาก)ถึง 36 กลยุทธ์ จึงยากที่จะนำมาเผยแพร่โดยละเอียด ผมจึงขออธิบายแบบสั้นๆ จากที่จดไว้หลังอ่านหนังสือและอ่านผ่านเวบ จึงนำมาเขียนโดยไม่มีเจตนาละเมิดลิขสิทธิ์ใดๆทั้งสิ้น ทั้ง 36 กลยุทธ์...ได้แก่ กลยุทธ์ที่ 1 ปิดฟ้าข้ามทะเล ความหมายคือ (ข้าศึก)คิดว่าได้ตระเตรียมไว้อย่างพร้อมแล้ว จึงมักจะประมาท กลยุทธ์ที่ 2 ล้อมเว่ยช่วยเจ้า มีความหมายว่า เมื่อข้าศึกรวมศูนย์กำลัง ควรจะใช้อุบายดึงแยกข้าศึกกระจัดกระจาย ห่วงหน้าพะวงหลัง กลยุทธ์ที่ 3 ยืมดาบฆ่าคน ความหมายชัดเจนมาก คือยืมกำลังของคนอื่นไปทำลายศัตรู กลยุทธ์ที่ 4 รอซ้ำยามเปลี้ย กลยุทธ์นี้หมายความว่า เมื่อข้าศึกตกอยู่ในภาวะลำบาก ก็เป็นช่องให้เราพิชิตได้(ง่าย) กลยุทธ์ที่ 5 ตีชิงตายไฟ นั่นคือ เมื่อข้าศึกอยู่ในภาวะวิกฤติ ควรฉวยโอกาสรุกรบโจมตี กลยุทธ์ที่ 6 ส่งเสียงบุรพาฝ่าตีประจิม กลยุทธ์นี้คือ การหลอกลวง...เท็จลวงกับจริงแท้ พึงใช้สอดแทรกทั้งในเชิงรุกและเชิงรับ กลยุทธ์ที่ 7 มีในไม่มี กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า ให้ใช้ภาพลวงล่อหลอกข้าศึกเพื่อแปรเปลี่ยนจากลวงเป็นจริง กลยุทธ์ที่ 8 ลอบตีเฉินชัง หมายถึง ใช้โอกาสที่ข้าศึกตัดสินใจจะรักษาพื้นที่ แสร้งทำเป็นจะโจมตีด้านหน้า แต่เข้าจู่โจมในพื้นที่ที่ข้าศึกไม่สนใจ กลยุทธ์ที่ 9 ดูไฟชายฝั่ง กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า ใช้การเปลี่ยนแปลงของข้าศึกมาเป็นประโยชน์ของตัวเอง กลยุทธ์ที่ 10 ซ่อนดาบบนรอยยิ้ม ประมาณว่า "ใช้ความสงบสยบเคลื่อนไหว" กลยุทธ์ที่ 11 หลี่ตายแทนถาว กลยุทธ์นี้หมายถึง ยอมเสีย“มืด” เพื่อประโยชน์แก่ “สว่าง” คือจำต้องเสียสละส่วนน้อย เพื่อชัยชนะส่วนใหญ่ กลยุทธ์ที่ 12 จูงแพะติดมือ กลยุทธ์นี้ก็คือ แม้ข้าศึกเลินเล่อเพียงเล็กน้อย ก็ต้องฉกฉวยผลประโยชน์มาให้ได้ แม้จะเป็นเพียงเล็กน้อย กลยุทธ์ที่ 13 ตีหญ้าให้งูตื่น(หรือ"แหวกหญ้าให้งูตื่น") เป็นกลยุทธ์การส่งคนสอดแนมให้รู้ชัดและกุมสภาพก่อนเคลื่อนทัพ หรือ“สงสัยพึงแจ้ง สังเกตจึงเคลื่อน” กลยุทธ์ที่ 14 ยืมซากคืนชีพ มีความหมายว่า อย่าใช้ผู้มีความสามารถอย่างผลีผลาม และผู้ที่ไร้ความสามารถก็อย่ามองข้ามเมื่อมาขอความช่วยเหลือ กลยุทธ์ที่ 15 ล่อเสือออกจากถ้ำ เป็นกลยุทธ์ดึงข้าศึกออกมาจากที่มั่น กลยุทธ์ที่ 16 แสร้งปล่อยเพื่อจับ กลยุทธ์นี้ เพื่อลดความฮึกเหิมของข้าศึก โดยเลี่ยงการบีบคั้นเพื่อป้องกัน"สุนัขจนตรอก" กลยุทธ์ที่ 17 โยนกระเบื้องล่อหยก ความถึง ใช้สิ่งที่คล้ายคลึงแต่ไร้ค่าไปล่อข้าศึก หรือ“ล่อด้วยประโยชน์” กลยุทธ์ที่ 18 จับโจรเอาหัวโจก กลยุทธ์นี้คือ เมื่อจะต้องตีข้าศึก ก็ต้องจับ"หัวหน้า"เพื่อสลายพลังของข้าศึก กลยุทธ์ที่ 19 ถอนฟืนใต้กระทะ กลยุทธ์นี้มีบอกว่า เมื่อเปรียบเทียบกำลังกับข้าศึกแล้วด้อยกว่า ก็ต้องหาทางลดกำลังของข้าศึกลง กลยุทธ์ที่ 20 กวนน้ำจับปลา เป็นกลยุทธ์ที่ทำให้ข้าศึกปั่นป่วนในกองทัพของตัวเอง โดยถือหลัก“เอาชัยจากคงวามปั่นป่วน” กลยุทธ์ที่ 21 จักจั่นลอกคราบ กลยุทธ์นี้หมายถึง รักษาแนวรบเยี่ยงเดิมให้ดูน่าเกรงขามเหมือนเก่า หรือการ"ลวง"ฝ่ายตรงข้าม กลยุทธ์ที่ 22 ปิดประตูจับโจร เป็นกลยุทธ์ที่ใช้เมื่อข้าศึกอ่อนกำลัง แล้วโอบล้อทำลายเสีย เพื่อมิให้เป็นภัยแก่เราในภายหลัง กลยุทธ์ที่ 23 คบไกลตีใกล้ กลยุทธ์นี้หมายถึง เมื่อถูกจำกัดโดยสภาพแวดล้อมก็ต้องตีเอาข้าศึกที่อยู่ใกล้ตัว โดยไม่เป็นศัตรูกับข้าศึกที่อยู่ไกล กลยุทธ์ที่ 24 ยืมทางพรางกล หมายความว่า หากเป็นประเทศเล็กที่อยู่ในระหว่าง 2 ประเทศใหญ่ ก็ต้องทำยอมสยบเพื่อให้ได้รับความไว้วางใจ กลยุทธ์ที่ 25 ลักขื่อเปลี่ยนเสา กลยุทธ์นี้หมายถึง การดึงกำลังสำคัญของฝ่ายตรงข้ามมาเป็นของเรา โดยควบคุมให้อยู่ใต้การบังคับบัญชา กลยุทธ์ที่ 26 ชี้ต้นหม่อนด่าต้นไหว กลยุทธ์นี้ก็คือ “แกร่งจึงต้อนรับ เสี่ยงจึงยอมสยบ” กลยุทธ์ที่ 27 แสร้งทำบอแต่ไม่บ้า เป็นกลยุทธ์ที่แกล้งทำเป็นโง่ มิเคลื่อนไหว ไม่ทำอะไรบุ่มบ่าม กลยุทธ์ที่ 29 ต้นไม้ผลิดอก หมายถึง ใช้แนวรบของมิตรมาสร้างแนวรบที่เป็นประโยชน์แก่เรา เพื่อทำให้เราดูใหญ่โต กลยุทธ์ที่ 30 สลับแขกเป็นเจ้าบ้าน เป็นกลยุทธ์ แทรกเข้ากุมจุดสำคัญหรือหัวใจของอีกฝ่าย กลยุทธ์ที่ 32 กลปิดเมือง กลยุทธ์นี้หมายความว่า “พิสดาร ซ่อนพิสดาร” หรือ“กลวงยิ่งทำกลวง” เพื่อลวงข้าศึก กลยุทธ์ที่ 33 กลไส้ศึก เป็นกลยุทธ์ที่ซ้อนกลสร้างแผนลวงให้ข้าศึกร้าวฉาน ระแวงสงสัยซึ่งกันและกัน กลยุทธ์ที่ 34 กลทุกข์กาย กลยุทธ์นี้ คือการทำร้ายตัวเองให้บาดเจ็บเพื่อให้ศัตรูเชื่อ กลยุทธ์ที่ 35 กลลูกโซ่ ใช้เมื่อกำลังศัตรูเข้มแข็งกว่าหลายเท่าจึงไม่สามารถปะทะด้วย จึงใช้อุบายให้ศัตรูถ่วงรั้งซึ่งกันและกัน กลยุทธ์ที่ 36 หนีคือยอดกลยุทธ์ นี่คือสุดยอดกลยุทธ์ โดยจำให้แม่นว่า “ถอยหนีมิผิด เป็นวิสัยแห่งสงคราม” ทำเพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายในยามที่เราเป็นฝ่ายเสียเปรียบ และเพื่อชิงโอกาสตอบโตภายหลังมิใช่ถอยหนีอย่างพ่ายแพ้หมดรูป ตีโต้กลับมิได้อีก สุดยอดกลยุทธ์นี้ ในตำราพิชัยสงครามชื่อ “ไหวหนานจื่อ ฝึกการยุทธทหาร” เขียนว่า“แข็งจึงสู้ อ่อนก็หนี” และตำราพิชัยสงครามอีกเล่ม คือ “ปิงฝ่าหยวนจีได้” ก็กล่าวไว้ว่า “แม้นหลบแล้วรักษาไว้ได้ก็พึงหลบ” กระทั่งใน “ซุนจื่อ บทกลยุทธ์” ก็ระบุว่า “แข็งพึงเลี่ยงเสีย” ผมก็เหมือน(เกือบ)ทุกคนนั่นแหละ คือ อ่านครั้งแรกก็ไม่เข้าใจ เนื่องจากเป็น"ภาษาสงคราม" แถมเป็นสงครามในจีนอีกต่างหาก แต่หลังอ่านจากการสรุปของหลายท่านในหนังสือหลายเล่ม ทำให้ผมพอจะเข้าใจมากขึ้น และรู้ว่า การเรียนรู้"กลยุทธ์"ไม่ใช่เรื่องง่าย และสรุปว่า"ตำราพิชัยสงครามซุนวู” ไม่ใช่หนังสือท่องจำ หากแต่ต้องเข้าใจคำพูด เข้าใจความหมาย ต้องตีความเนื้อหา เพื่อนำไปปฏิบัติและพัฒนาตัวเอง การเริ่มอ่าน(หนังสือดีๆ)...จึงเป็น"ก้าวแรก" ที่ผมนึกถึงหนังสือกำลังภายในที่มีประโยคหนึ่งว่า “พื้นฐานไม่ดี ฝึกร้อยปีไม่ก้าวหน้า” และเมื่อยังไม่เข้าใจ..ก็อย่าลืมอ่านซ้ำ ...

2 ความคิดเห็น:

รจนา อินทร์เหล่าใหญ่ กล่าวว่า...

กลยุทธ์ที่ ๒๘-๓๑ ทำไมไม่มีค่ะ

Dek Sard กล่าวว่า...

มั่วนะครับ
ซุนวูมี 13 บท
ส่วย 36กลยุมธ นี่ไม่ปรากฎผู้แต่ง

แสดงความคิดเห็น