เผย! 10 โรคเสี่ยงของคนไทย
10 โรคร้ายที่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิต รวมทั้ง 10 โรคเรื้อรังที่เป็นปัญหาใหญ่ของคนไทย เป็นภัยเงียบที่แฝงมากับการใช้ชีวิตของคนรุ่นใหม่ แม้เราจะรู้จักโรคเหล่านี้มาบ้าง แต่มาอัพเดทข้อมูลกันดีกว่าค่ะ เพื่อจะได้รู้เท่าทันและป้องกันโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพไปดูกัน
มะเร็งครองแชมป์มัจจุราช โรคมะเร็งหากเป็นแล้วมีโอกาสเสียชีวิตสูง โดยเฉพาะรายที่พบในระยะลุกลาม ในประเทศไทย โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการตายอันดับ 1 ติดต่อกันมา 5 ปี มีผู้เสียชีวิตประมาณปีละ 50,000 คน เฉลี่ยชั่วโมงละ 6 คน พบผู้ป่วยรายใหม่ปีละประมาณ 70,000 คน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โรคมะเร็งที่พบมากที่สุด 6 อันดับแรกในปี 2547 ได้แก่ มะเร็งตับ มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งลำไส้ใหญ่ และมะเร็งในช่องปาก โดยมะเร็งที่ผู้ชายเป็นกันมากอันดับ 1 ได้แก่ มะเร็งตับ รองลงมาคือ มะเร็งปอดและมะเร็งลำไส้ใหญ่ ส่วนมะเร็งที่พบในผู้หญิงตามลำดับคือมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม และมะเร็งตับ
แอลกอฮอล์ชนวนโรคกายและโรคใจ อย่างที่ทราบกันดีว่า แอลกอฮอล์ เป็นต้นเหตุของอุบัติเหตุกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ ทั้งยังเป็นบ่อเกิดของโรคร้ายมากมาย เช่นโรคตับแข็ง มะเร็งตับ ตับอ่อนอักเสบ โรคกระเพาะและกระเพาะรั่ว ภาวะเลือดออกจากทางเดินอาหาร เป็นต้น ซึ่งโรคเหล่านี้มักเป็นเรื้อรังและทำให้ผู้เจ็บป่วยทุกข์ทรมาน ทั้งยังก่อเกิดภาวะแทรกซ้อนในโรคเรื้อรังอื่นๆ เช่น โรคหลอดเลือดสมอง (เส้นเลือดในสมองแตกหรือตีบ)
ไขมันในเลือดสูง และโรคหลอดเลือดหัวใจ แม้แต่โรคทางจิตก็มีสาเหตุจากแอลกอฮอล์ด้วยเช่นกัน ต้นเหตุการป่วยทางจิต 1 ใน 3 มาจากการติดเหล้า และพบว่าในกลุ่มคนที่มีปัญหาสุขภาพจิตที่ฆ่าตัวตายสำเร็จ 90% เป็นผู้ป่วยโรคซึมเศร้า หรือใช้แอลกอฮอล์ หรือทั้งสองอย่างร่วมกัน โดยผู้ป่วยทางจิตจะมีอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จสูงกว่าผู้ป่วยทางกายประมาณ 3 เท่าตัว โดยเฉพาะคนติดเหล้ามากๆ จะทำให้เกิดอาการประสาทหลอน เห็นภาพหลอน หูแว่ว หลงผิด หวาดระแวง และคลุ้มคลั่ง
วัณโรค ภัยในอากาศที่กำลังกลับมา ปอดอักเสบ วัณโรค โรคระบบทางเดินหายใจ เป็นกลุ่มโรคเดียวกัน แต่ที่กำลังต้องจับตาเฝ้าระวังเป็นพิเศษ คือวัณโรค ซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อว่า มายโคแบคทีเรียม ทูเบอร์คูโลสิส (Mycobacterium tuberculosis) ตอนนี้กำลังเป็นปัญหาสาธารณสุขและมีแนวโน้มจะรุนแรงขึ้น จากรายงานขององค์การอนามัยโลกล่าสุดในปี 2549 ระบุว่าพบประชากรโลก 1 ใน 3 หรือประมาณ 2,000 ล้านคนติดเชื้อวัณโรค และมีผู้ป่วย 15 ล้านคน สำหรับคนไทยคาดว่าราว 20 ล้านคนมีเชื้อวัณโรคในตัว พร้อมกำเริบหากสุขภาพทรุดโทรม เช่น สูบบุหรี่ ดื่มเหล้าจัด หรือติดเชื้อเอดส์ ผู้ติดเชื้อวัณโรคเหล่านี้อาจป่วยได้ถึงปีละ 1 แสนคน
ประเทศไทยมีปัญหาวัณโรคอยู่ในอันดับที่ 18 ของโลกและถือว่าเป็นปัญหาสาธารณสุขอันดับ 6 รองจากมะเร็ง โรคหัวใจ อุบัติเหตุ เอดส์ ไข้เลือดออก ในปี 2549 ตรวจพบผู้ป่วยวัณโรค 58,639 คน ในจำนวนนี้ร้อยละ 70 เป็นผู้ป่วยรายใหม่ที่ตรวจพบเชื้อในเสมหะ ซึ่งสามารถแพร่เชื้อจากการไอจามติดต่อสู่คนรอบข้างได้ ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 15-44 ปี
โรคร้ายที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตนั้น มีความสัมพันธ์กับโรคเรื้อรังที่คนไทยประสบ โรคเรื้อรังเป็นโรคที่รัฐบาลเสียค่าใช้จ่ายสูงมาก และก่อให้เกิดโรคร้ายแรงตามมาอีกมากมาย อย่างความดันสูง การรักษาก็ต้องกินยาตลอด โรคเบาหวาน บางคนไม่ดูแลสุขภาพตัวเอง ไม่เคยสังเกต ไม่ตรวจโรคเลย แล้วเมื่อมีอาการเรื้อรัง ก็จะทำให้ไตอักเสบ หรือเกิดอาการไตวายได้
มะเร็งครองแชมป์มัจจุราช โรคมะเร็งหากเป็นแล้วมีโอกาสเสียชีวิตสูง โดยเฉพาะรายที่พบในระยะลุกลาม ในประเทศไทย โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการตายอันดับ 1 ติดต่อกันมา 5 ปี มีผู้เสียชีวิตประมาณปีละ 50,000 คน เฉลี่ยชั่วโมงละ 6 คน พบผู้ป่วยรายใหม่ปีละประมาณ 70,000 คน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โรคมะเร็งที่พบมากที่สุด 6 อันดับแรกในปี 2547 ได้แก่ มะเร็งตับ มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งลำไส้ใหญ่ และมะเร็งในช่องปาก โดยมะเร็งที่ผู้ชายเป็นกันมากอันดับ 1 ได้แก่ มะเร็งตับ รองลงมาคือ มะเร็งปอดและมะเร็งลำไส้ใหญ่ ส่วนมะเร็งที่พบในผู้หญิงตามลำดับคือมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม และมะเร็งตับ
แอลกอฮอล์ชนวนโรคกายและโรคใจ อย่างที่ทราบกันดีว่า แอลกอฮอล์ เป็นต้นเหตุของอุบัติเหตุกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ ทั้งยังเป็นบ่อเกิดของโรคร้ายมากมาย เช่นโรคตับแข็ง มะเร็งตับ ตับอ่อนอักเสบ โรคกระเพาะและกระเพาะรั่ว ภาวะเลือดออกจากทางเดินอาหาร เป็นต้น ซึ่งโรคเหล่านี้มักเป็นเรื้อรังและทำให้ผู้เจ็บป่วยทุกข์ทรมาน ทั้งยังก่อเกิดภาวะแทรกซ้อนในโรคเรื้อรังอื่นๆ เช่น โรคหลอดเลือดสมอง (เส้นเลือดในสมองแตกหรือตีบ)
ไขมันในเลือดสูง และโรคหลอดเลือดหัวใจ แม้แต่โรคทางจิตก็มีสาเหตุจากแอลกอฮอล์ด้วยเช่นกัน ต้นเหตุการป่วยทางจิต 1 ใน 3 มาจากการติดเหล้า และพบว่าในกลุ่มคนที่มีปัญหาสุขภาพจิตที่ฆ่าตัวตายสำเร็จ 90% เป็นผู้ป่วยโรคซึมเศร้า หรือใช้แอลกอฮอล์ หรือทั้งสองอย่างร่วมกัน โดยผู้ป่วยทางจิตจะมีอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จสูงกว่าผู้ป่วยทางกายประมาณ 3 เท่าตัว โดยเฉพาะคนติดเหล้ามากๆ จะทำให้เกิดอาการประสาทหลอน เห็นภาพหลอน หูแว่ว หลงผิด หวาดระแวง และคลุ้มคลั่ง
วัณโรค ภัยในอากาศที่กำลังกลับมา ปอดอักเสบ วัณโรค โรคระบบทางเดินหายใจ เป็นกลุ่มโรคเดียวกัน แต่ที่กำลังต้องจับตาเฝ้าระวังเป็นพิเศษ คือวัณโรค ซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อว่า มายโคแบคทีเรียม ทูเบอร์คูโลสิส (Mycobacterium tuberculosis) ตอนนี้กำลังเป็นปัญหาสาธารณสุขและมีแนวโน้มจะรุนแรงขึ้น จากรายงานขององค์การอนามัยโลกล่าสุดในปี 2549 ระบุว่าพบประชากรโลก 1 ใน 3 หรือประมาณ 2,000 ล้านคนติดเชื้อวัณโรค และมีผู้ป่วย 15 ล้านคน สำหรับคนไทยคาดว่าราว 20 ล้านคนมีเชื้อวัณโรคในตัว พร้อมกำเริบหากสุขภาพทรุดโทรม เช่น สูบบุหรี่ ดื่มเหล้าจัด หรือติดเชื้อเอดส์ ผู้ติดเชื้อวัณโรคเหล่านี้อาจป่วยได้ถึงปีละ 1 แสนคน
ประเทศไทยมีปัญหาวัณโรคอยู่ในอันดับที่ 18 ของโลกและถือว่าเป็นปัญหาสาธารณสุขอันดับ 6 รองจากมะเร็ง โรคหัวใจ อุบัติเหตุ เอดส์ ไข้เลือดออก ในปี 2549 ตรวจพบผู้ป่วยวัณโรค 58,639 คน ในจำนวนนี้ร้อยละ 70 เป็นผู้ป่วยรายใหม่ที่ตรวจพบเชื้อในเสมหะ ซึ่งสามารถแพร่เชื้อจากการไอจามติดต่อสู่คนรอบข้างได้ ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 15-44 ปี
โรคร้ายที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตนั้น มีความสัมพันธ์กับโรคเรื้อรังที่คนไทยประสบ โรคเรื้อรังเป็นโรคที่รัฐบาลเสียค่าใช้จ่ายสูงมาก และก่อให้เกิดโรคร้ายแรงตามมาอีกมากมาย อย่างความดันสูง การรักษาก็ต้องกินยาตลอด โรคเบาหวาน บางคนไม่ดูแลสุขภาพตัวเอง ไม่เคยสังเกต ไม่ตรวจโรคเลย แล้วเมื่อมีอาการเรื้อรัง ก็จะทำให้ไตอักเสบ หรือเกิดอาการไตวายได้
คุณ รู้ไหม? ทำอะไร 2 อย่างพร้อมกัน ทำสมองตอบสนองช้าลง
ในยุคที่ชีวิตประจำวันของคนเราเต็มไปด้วยเทคโนโลยีสารพัดที่พกติดตัวไปได้ทุกที่ทุกเวลา การทำกิจกรรมหลาย ๆ อย่างในเวลาเดียวกัน ดูจะเป็นสิ่งที่พบเห็นกันได้ทั่วไป และหลายคนก็คิดว่าการทำอะไรหลาย ๆ อย่างไปพร้อม ๆ กันนี้ เป็นการใช้เวลาที่มีอย่างคุ้มค่าที่สุด แต่หากได้ลองมาดูข้อมูลน่าสนใจที่เรานำมาฝากกันวันนี้แล้ว เห็นทีว่าต้องปรับความคิดเสียใหม่ เพราะจริง ๆ แล้ว การทำอะไรหลายอย่างในเวลาเดียวกันนั้น เป็นการลดประสิทธิภาพในการทำกิจกรรมทุกอย่างอย่างไม่รู้ตัว (หรืออาจรู้ตัวแต่ไม่สนใจก็ได้)
ข้อมูลน่าสนใจเกี่ยวกับประสิทธิภาพในการทำกิจกรรมต่าง ๆ เมื่อเราทำอะไรหลายอย่างพร้อมกันนี้ จัดทำขึ้นโดยเว็บไซต์ออนไลน์คอลเลจ ซึ่งเป็นข้อมูลที่สกัดจากงานวิจัยหลายชิ้นว่าด้วยเรื่องการทำงานของสมองขณะมนุษย์ทำอะไรมากกว่า 1 อย่างไปพร้อม ๆ กัน โดยระบุว่า มีคนเพียง 2 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ที่จะมีความสามารถทำกิจกรรม 2 อย่างพร้อมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนอีก 98 เปอร์เซ็นต์นั้น ประสิทธิภาพในการทำทุกอย่างจะลดลง 40 เปอร์เซ็นต์ และไอคิวก็จะลดลงอีก 10 แต้มด้วย ส่งผลให้สมองคนเราตอบสนองอะไรได้ช้าลง ทำอะไรได้ช้าลง
รายงานระบุว่า ปัจจุบัน 89 เปอร์เซ็นต์ของผู้คนวัยทำงานชาวอเมริกันที่มีโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟน ใช้โทรศัพท์ของตัวเองขณะทำงานไปด้วย และโดยเฉลี่ยแล้ว ผู้คนกลุ่มนี้ จะถูกรบกวนสมาธิในการทำงานทุก ๆ 10.5 นาที จากการให้ความสนใจกับโทรศัพท์ของพวกเขาเอง
ทีนี้มาดูการใช้เทคโนโลยีในการเรียนของวัยนักศึกษากันบ้าง งานวิจัยได้เปิดเผยว่า ในกรณีที่นักศึกษานำคอมพิวเตอร์แล็ปท็อปไปใช้ระหว่างการเรียน พวกเขาจะเปิดเว็บไซต์ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรื่องที่เรียนถึง 62 เปอร์เซ็นต์ของเว็บไซต์ที่พวกเขาเปิดทั้งหมด และถ้าหากจะคิดจากการเรียนใน 1 วิชาแล้ว นักศึกษาจะเปิดหน้าเว็บเพจเฉลี่ยถึง 65 หน้าเลยทีเดียว
สำหรับกิจกรรมเบา ๆ ที่ทำในช่วงเวลาพักผ่อนก็เช่นกัน งานวิจัยพบว่า ชาวอเมริกันจำนวนมาก มักจะทำกิจกรรมอีกอย่างหนึ่งควบคู่ไปกับการดูโทรทัศน์ โดยชาวอเมริกัน 42 เปอร์เซ็นต์ ท่องเว็บไซต์ไปด้วย, 29 เปอร์เซ็นต์ คุยโทรศัพท์ไปด้วย, และ 26 เปอร์เซ็นต์ คุยแชทในโทรศัพท์ไปด้วย ขณะที่พวกเขากำลังดูโทรทัศน์
และในยุคที่โทรศัพท์สมาร์ทโฟนเป็นเครื่องมือสื่อสารที่ขาดไม่ได้ในทุกวันนี้ พบว่าชาวอเมริกันกว่า 67 เปอร์เซ็นต์ เล่นอินเทอร์เน็ตผ่านมือถือ ขณะที่พวกเขากำลังเดินเที่ยวกับคู่รัก, 45 เปอร์เซ็นต์ เล่นอินเทอร์เน็ตผ่านมือถือในโรงหนัง, และ 33 เปอร์เซ็นต์ หยิบมือถือขึ้นมาท่องอินเทอร์เน็ต ขณะกำลังอยู่ในโบสถ์เลยทีเดียว
จากข้อมูลดังกล่าว แสดงให้เห็นว่า เทคโนโลยีมีอิทธิพลกับชีวิตประจำวันของคนเราเป็นอย่างมาก และทำให้คนเราทำอะไรหลายอย่างในเวลาเดียวกันมากขึ้น โดยเฉพาะเทคโนโลยีสมาร์ทโฟน ที่มักจะถูกหยิบขึ้นมาเล่นระหว่างทำอย่างอื่นไปด้วยเสมอ ซึ่งนั่นอาจทำให้ใครหลายคนคิดว่าเป็นสิ่งที่ดี เพราะสามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้พร้อม ๆ กัน แต่จากงานวิจัย ระบุว่า การใช้โทรศัพท์มือถือ ไม่ว่าจะใช้ในเรื่องของการเล่นอินเทอร์เน็ต หรือพูดคุย ทำให้ไอคิวของคนเราลดลงกว่า 10 แต้ม เทียบเท่ากับไอคิวหลังอดหลับอดนอนเลยทีเดียวเชียว และกรณีที่ใช้โทรศัพท์ระหว่างขับรถไปด้วยก็ไม่ต้องพูดถึง เพราะไม่ว่าคุณจะใช้บลูทูธ หรือสมอลทอล์ค สมาธิในการขับรถของคุณก็จะลดลง ความสามารถในการตอบสนองต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนถนนก็ช้าลงเช่นกัน
ขอบคุณข้อมุล Kapook