กบฏแมนฮัตตัน

Posted by dddasd On วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2555 0 ความคิดเห็น

กบฏแมนฮัตตัน

เหตุการณ์การกบฏในวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2494 เมื่อทหารเรือกลุ่มหนึ่ง เรียกตัวเองว่า "คณะกู้ชาติ" นำโดย น.ต.มนัส จารุภา รน. ทำการกบฏจี้ตัวจอมพล ป. พิบูลสงคราม ระหว่างเป็นประธานในพิธีรับมอบเรือขุดสันดอนสัญชาติอเมริกัน ชื่อ "แมนฮัตตัน" ที่กองบัญชาการกองทัพเรือ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร โดยนำไปกักขังไว้ในเรือหลวงชื่อ "ศรีอยุธยา" ที่จอดรออยู่กลางแม่น้ำเจ้าพระยา

หัวหน้าคณะก่อการ 
คือ น.อ. อานนท์ บุญฑริกธาดา รน. สั่งการให้ทหารเรือกลุ่มที่สนับสนุนการก่อการมุ่งหน้าและตรึงกำลังไว้ที่พระนคร และประกาศตั้ง พระยาสารสาสน์ประพันธ์ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี โดย จอมพล ป. พิบูลสงคราม กระจายเสียงในฐานะนายกรัฐมนตรีจากในเรือ แต่ทางฝ่ายรัฐบาลไม่ยอม ได้กระจายเสียงตอบโต้ไปโดยใช้วิทยุของกรมการรักษาดินแดน (ร.ด.) โดยได้ให้นายวรการบัญชา ประธานสภาผู้แทนราษฎรรักษาการณ์นายกรัฐมนตรีแทน และตั้งกองบัญชาการขึ้นที่ทำเนียบรัฐบาล (ในขณะนั้นคือ พระที่นั่งอนันตสมาคม) จึงเกิดการต่อสู้ยิงกันอย่างหนักระหว่างทหารฝ่ายรัฐบาลและทหารฝ่ายก่อการ

มีการทิ้งระเบิดจากเครื่องบินแบบ Spitfire และ T6 ใส่เรือหลวงศรีอยุธยาที่อยู่กลางแม่น้ำเจ้าพระยา จนกระทั่งเวลาประมาณ 15.00 น. ของวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2494 เรือก็จม จอมพล ป. พิบูลสงคราม ถูกทหารเรือที่อยู่บนเรือนำว่ายน้ำหลบหนีออกมาได้ โดยการกบฏครั้งนี้นับว่าเสียหายมากที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย เพราะสถานที่ต่างๆเสียหาย และมีผู้บาดเจ็บล้มตายนับร้อยทั้งทหารของทั้ง 2 ฝ่าย และประชาชนที่ไม่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์

เหตุการณ์สิ้นสุดลงด้วยการจับกุมผู้ต้องหาร่วม 1,000 คน ปล่อยตัวเพราะหาหลักฐานไม่เพียงพอจนเหลือฟ้องศาลประมาณ 100 คน ภายหลังนักโทษคดีนี้ส่วนใหญ่ได้รับการนิรโทษกรรมเมื่อปี พ.ศ. 2500 เนื่องในโอกาสครบ 25 พุทธศตวรรษ ในส่วนของกองทัพเรือ แม้ทหารที่ก่อการจะไม่ใช่ทหารระดับสูงและทหารเรือส่วนใหญ่ก็ไม่เกี่ยวข้องด้วย กระนั้น ต่อมา พล.ร.อ.สินธุ์ กมลนาวิน ผู้บัญชาการทหารเรือก็ยังต้องโทษตัดสินจำคุกนานถึง 3 ปี โดยที่ไม่มีความผิด และได้มีการปรับลดอัตรากำลังพลของกองทัพเรือลงไปมาก เพราะถือเป็นความพยายามก่อรัฐประหารเป็นครั้งที่ 2 ติดต่อกันของทหารเรือ ต่อจากกบฏวังหลวง ที่เกิดขึ้นมาก่อนหน้านั้นเพียง 2 ปี โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เช่น ยุบกรมนาวิกโยธินกรุงเทพ ยุบกองการบินกองทัพเรือไปรวมกับกองทัพอากาศ ย้ายกองสัญญาณทหารเรือที่ถนนวิทยุ ที่ต่อมากลายเป็นที่ตั้งของโรงเรียนเตรียมทหาร ซึ่งในปัจจุบันคือที่ตั้งของ สวนลุมไนท์บาซ่าร์ นั่นเอง

ภายหลังเหตุการณ์ผู้ก่อการได้แยกย้ายกันหลบหนีไปพม่าและสิงคโปร์ น.ต.มนัส จารุภา ร.น. ผู้ทำการจี้จอมพล ป. ได้หลบหนีไปพม่าได้สำเร็จ แต่ถูกจับกุมได้หลังจากลักลอบกลับเข้าประเทศเมื่อปี พ.ศ. 2495

ในภาพ - ภาพเหตุการณ์ขณะที่ น.ต.มนัส จารุภา กำลังวิ่งขึ้นเรือแมนฮัตตัน

ขอขอบคุณข้อมูลจาก หนังสือประชาธิปไตยบนเส้นขนาน, คอลัมน์ ส่วนร่วมสังคมไทย หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับวันศุกร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2553


READ MORE

การเลือกสี ให้เหมาะกับห้องในบ้านของคุณ
1.ห้องนั่งเล่น
ห้องนี้สามารถใช้สีได้ทุกโทน ควรเลือกใช้เฉดสีดูโปร่ง สบายตา ไม่ร้อนแรงมาก เช่น “สีครีม , สีเขียวอ่อน , สีชมพูอ่อน” เป็นต้น เพื่อเป็นการสร้างบรรยาศกาศให้กับการพักผ่อน
2.ห้องรับประทานอาหาร
ควรเลือกใช้เฉดสีที่ดูสะอาด สบายตา เพราะจะช่วยเพิ่มบรรยากาศ และกระตุ้นให้ รับประทานอาหารได้มากขึ้น เช่น “ สีชมพู , สีส้มอ่อนๆ” เป็นต้น

3.ห้องน้ำ
ควรเลือกใช้เฉดสีที่ให้ความรู้สึกสดชื่น สะอาด สบายตา เช่น “สีฟ้าน้ำทะเล ม สีน้ำเงินอมเขียว” เป็นต้น

4.ห้องนอน
ควรเลือกใช้เฉดสีที่สบายๆ สงบ ไม่ร้อนแรง เพราะเป็นห้องที่ไว้ใช้พักผ่อน เช่น “สีฟ้าอ่อนๆ , มีครีม” เป็นต้น

ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.thaihomemaster.com/
READ MORE