รู้ไหม? โรคหัวใจขาดเลือด ทำให้คนตายชั่วโมงละ 2 คน

Posted by dddasd On วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2555 0 ความคิดเห็น


รู้ไหม? โรคหัวใจขาดเลือด ทำให้คนตายชั่วโมงละ 2 คน
“โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน” หรือ Acute Coronary Syndrome หรือ Heart Attack คืออันตรายและภัยเงียบ
จากข้อมูลจากกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า ปัจจุบันโรคหลอดเลือดเป็นสาเหตุการป่วยและเสียชีวิตของคนไทยสูงเป็นอันดับ 3 รองจากมะเร็งและอุบัติเหตุจราจร
โดยมีผู้เสียชีวิตปีละประมาณ 18,000 ราย สาเหตุส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 80 เกิดมาจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด จากปัญหาหลอดเลือดไปเลี้ยงหัวใจตีบตัน พบผู้ป่วยรายใหม่ปีละประมาณ 22,000 ราย และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
จากการศึกษาของสมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับสถาบันโรคทรวงอก และหน่วยงานอื่นๆ ทั่วประเทศ 17 หน่วยงาน พบว่า โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิดรุนแรง มีอัตราการตายสูงถึงร้อยละ 17 ซึ่งสูงกว่าต่างประเทศที่พบร้อยละ 7 หรือกว่า 2 เท่าตัว
กระทรวงสาธารณสุขยืนยันว่ามีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ชั่วโมงละ 2 คน ซึ่งตัวเลข 2 คนนี้ ถือว่าเป็นตัวเลขที่สูง และมีความสำคัญยิ่ง เพราะคนตายมักอยู่ในวัยทำงานหาเลี้ยงครอบครัว มีคุณค่าต่อครอบครัว เพราะมันเป็นภัยเงียบ มักไม่รู้ตัวหรือมีอาการมาก่อน หากไม่ดูแลเฝ้าระวังสุขภาพ
โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
มีสาเหตุมาจากการตีบตัน แคบลงของหลอดเลือดแดง เนื่องจากมีไขมันและคอเลสเตอรอลไปเกาะที่ผนังของหลอดเลือด โดยผู้ป่วยจะมีอาการแสดงออกเมื่อมีการตีบตันมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป ในลักษณะเจ็บแน่นหน้าอกเวลาออกแรงมากๆ เครียด หรือหลังจากทานอาหารมื้อหนัก ส่วนมาก 75 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยจะเจ็บบริเวณกลางหน้าอก คล้ายมีอะไรบีบรัดหรือกดทับและอาจร้าวไปที่คอ กราม ไหล่ซ้าย หรืออาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น เหงื่อออก หน้ามืด อาเจียน ซึ่งอาการเจ็บดังกล่าวหากนั่งพักจะหายไปเอง
การรักษาโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย การรักษาที่ผู้ป่วยจะได้รับ
๑. การให้ออกซิเจน
๒. การให้ยาแก้ปวด
๓. การใช้ยาขยายหลอดเลือด
๔. การใช้ยาป้องกันเลือดแข็งตัว หรือ ยาละลายลิ่ม
๕. การรักษาอย่างอื่น ซึ่งแพทย์จะพิจารณาเป็นรายๆไป
โดยทั่วๆไปผู้ป่วยต้องได้รับการรักษาในโรงพยาบาลที่มีแพทย์เชี่ยวชาญทางโรคหัวใจโดยเฉพาะผู้ป่วยอาจมีภาวะแทรกซ้อน เช่น ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือ ภาวะหัวใจล้มเหลว เกดขึ้นได้ ผู้ป่วยควรจะได้รับการตรวจสัญญาณชีพจรบ่อยๆ  และควรจะได้บันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจอยู่ตลอดเวลา
ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นโรคหัวใจอยู่แล้ว ให้อมยาไนโตรกลีเซอรีน หรือ ไนเตรตใต้ลิ้น แล้วรีบมาโรงพยาบาล
ปัจจัยเสี่ยงต่อโรค
๑. เพศชายอายุ ๔๐ ปี เพศหญิงวัยหมดประจำเดือน
๒. การสูบบุหรี่
๓. ภาวะไขมันในเลือดสูง
๔. ความดันโลหิตสูง
๕. โรคเบาหวาน
๖. อ้วน
วิธีการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรค
๑. ความคุมความดันโลหิตสูง โดยการควบคุมอาหาร และการใช้ยา
๒. หยุดสูบบุรี่
๓. ลดระดับความมันในเลือด โดยเลือกรับประทานอาหารที่มีน้ำมันจากสัตว์ น้ำมันมะพร้าว และกะทิ
๔. ปรับปริมาณแคลลอรี่ในอาหารให้พอดี เพื่อให้ได้น้ำหนักตัวที่เหมาะสมกับความสูง
๕. ออกกำลังกายพอประมาณทุกวัน หรืออย่างน้อย ครั้งละ ๒๐ นาที ๓ ครั้งต่อสัปดาห์
๖. ถ้าเป็นเบาหวานความควบคุมน้ำตาลให้ดี

ขอบคุณข้อมูล Mthai.com

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น