กบฏแมนฮัตตัน
เหตุการณ์การกบฏในวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2494 เมื่อทหารเรือกลุ่มหนึ่ง เรียกตัวเองว่า "คณะกู้ชาติ" นำโดย น.ต.มนัส จารุภา รน. ทำการกบฏจี้ตัวจอมพล ป. พิบูลสงคราม ระหว่างเป็นประธานในพิธีรับ มอบเรือขุดสันดอนสัญชาติอเม ริกัน ชื่อ "แมนฮัตตัน" ที่กองบัญชาการกองทัพเรือ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร โดยนำไปกักขังไว้ในเรือหลวง ชื่อ "ศรีอยุธยา" ที่จอดรออยู่กลางแม่น้ำเจ้า พระยา
หัวหน้าคณะก่อการ
คือ น.อ. อานนท์ บุญฑริกธาดา รน. สั่งการให้ทหารเรือกลุ่มที่ สนับสนุนการก่อการมุ่งหน้าแ ละตรึงกำลังไว้ที่พระนคร และประกาศตั้ง พระยาสารสาสน์ประพันธ์ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี โดย จอมพล ป. พิบูลสงคราม กระจายเสียงในฐานะนายกรัฐมน ตรีจากในเรือ แต่ทางฝ่ายรัฐบาลไม่ยอม ได้กระจายเสียงตอบโต้ไปโดยใ ช้วิทยุของกรมการรักษาดินแด น (ร.ด.) โดยได้ให้นายวรการบัญชา ประธานสภาผู้แทนราษฎรรักษาก ารณ์นายกรัฐมนตรีแทน และตั้งกองบัญชาการขึ้นที่ท ำเนียบรัฐบาล (ในขณะนั้นคือ พระที่นั่งอนันตสมาคม) จึงเกิดการต่อสู้ยิงกันอย่า งหนักระหว่างทหารฝ่ายรัฐบาล และทหารฝ่ายก่อการ
มีการทิ้งระเบิดจากเครื่องบ ินแบบ Spitfire และ T6 ใส่เรือหลวงศรีอยุธยาที่อยู ่กลางแม่น้ำเจ้าพระยา จนกระทั่งเวลาประมาณ 15.00 น. ของวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2494 เรือก็จม จอมพล ป. พิบูลสงคราม ถูกทหารเรือที่อยู่บนเรือนำ ว่ายน้ำหลบหนีออกมาได้ โดยการกบฏครั้งนี้นับว่าเสี ยหายมากที่สุดในประวัติศาสต ร์ไทย เพราะสถานที่ต่างๆเสียหาย และมีผู้บาดเจ็บล้มตายนับร้ อยทั้งทหารของทั้ง 2 ฝ่าย และประชาชนที่ไม่เกี่ยวข้อง กับเหตุการณ์
เหตุการณ์สิ้นสุดลงด้วยการจ ับกุมผู้ต้องหาร่วม 1,000 คน ปล่อยตัวเพราะหาหลักฐานไม่เ พียงพอจนเหลือฟ้องศาลประมาณ 100 คน ภายหลังนักโทษคดีนี้ส่วนใหญ ่ได้รับการนิรโทษกรรมเมื่อป ี พ.ศ. 2500 เนื่องในโอกาสครบ 25 พุทธศตวรรษ ในส่วนของกองทัพเรือ แม้ทหารที่ก่อการจะไม่ใช่ทห ารระดับสูงและทหารเรือส่วนใ หญ่ก็ไม่เกี่ยวข้องด้วย กระนั้น ต่อมา พล.ร.อ.สินธุ์ กมลนาวิน ผู้บัญชาการทหารเรือก็ยังต้ องโทษตัดสินจำคุกนานถึง 3 ปี โดยที่ไม่มีความผิด และได้มีการปรับลดอัตรากำลั งพลของกองทัพเรือลงไปมาก เพราะถือเป็นความพยายามก่อร ัฐประหารเป็นครั้งที่ 2 ติดต่อกันของทหารเรือ ต่อจากกบฏวังหลวง ที่เกิดขึ้นมาก่อนหน้านั้นเ พียง 2 ปี โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมห านคร เช่น ยุบกรมนาวิกโยธินกรุงเทพ ยุบกองการบินกองทัพเรือไปรว มกับกองทัพอากาศ ย้ายกองสัญญาณทหารเรือที่ถน นวิทยุ ที่ต่อมากลายเป็นที่ตั้งของ โรงเรียนเตรียมทหาร ซึ่งในปัจจุบันคือที่ตั้งขอ ง สวนลุมไนท์บาซ่าร์ นั่นเอง
ภายหลังเหตุการณ์ผู้ก่อการไ ด้แยกย้ายกันหลบหนีไปพม่าแล ะสิงคโปร์ น.ต.มนัส จารุภา ร.น. ผู้ทำการจี้จอมพล ป. ได้หลบหนีไปพม่าได้สำเร็จ แต่ถูกจับกุมได้หลังจากลักล อบกลับเข้าประเทศเมื่อปี พ.ศ. 2495
ในภาพ - ภาพเหตุการณ์ขณะที่ น.ต.มนัส จารุภา กำลังวิ่งขึ้นเรือแมนฮัตตัน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก หนังสือประชาธิปไตยบนเส้นขน าน, คอลัมน์ ส่วนร่วมสังคมไทย หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับวันศุกร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
มีการทิ้งระเบิดจากเครื่องบ
เหตุการณ์สิ้นสุดลงด้วยการจ
ภายหลังเหตุการณ์ผู้ก่อการไ
ในภาพ - ภาพเหตุการณ์ขณะที่ น.ต.มนัส จารุภา กำลังวิ่งขึ้นเรือแมนฮัตตัน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก หนังสือประชาธิปไตยบนเส้นขน
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น